CategoriesUncategorized @th บทความ

อาการ “ไอ” โรคเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้าม

อาการไอ: สาเหตุ ประเภท และการรักษา

อาการไอคืออะไร ?

         อาการไอถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งที่สำคัญของร่างกายที่ช่วยตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้เราสามารถกำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และช่วยกำจัดเสมหะออกจากหลอดลมได้ แต่ในขณะเดียวกัน อาการไอนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อทั้งไวรัส และแบคทีเรียในทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคโควิด-19 ที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดกันอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

สาเหตุของการไอ

โดยส่วนใหญ่อาการไอมักเกิดจากปัจจัยกระตุ้น เช่น 

  • สารก่อระคายเคือง เช่น ฝุ่นควัน 

  • พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด

  • โรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ  หรือแม้กระทั่งโรคกรดไหลย้อนก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณลำคอและหลอดลมได้

       ซึ่งเมื่อมีปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้ ผนังของหลอดลมจะเกิดการอักเสบ และสร้างเมือกออกมากลายเป็นก้อนเหนียวที่เรียกว่า “เสมหะ” ในหลอดลม และทำให้เกิดเป็นอาการไอได้ในที่สุด

เมื่อใดควรไปพบแพทย์?

หากมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์:

  • ไอรุนแรงหรือมีอาการเจ็บหน้าอก

  • ไอมีเสียงหายใจวี๊ด

  • มีไข้ ไอมีเสมหะปนเลือด

  • ไอเรื้อรังนานเกิน 3 สัปดาห์

ประเภทของอาการไอ และยาที่ใช้รักษาอาการไอ

  1. ไอแห้ง (ชนิดที่ไม่มีเสมหะ) ยาที่ใช้รักษาจะแบ่งออกเป็น

    • ยากดศูนย์การไอที่สมอง ได้แก่ 

      1. Dextromethorphan (เป็นยาที่จัดอยู่ในประเภทยาอันตรายตามที่ อย. กำหนด ซึ่งหากร้านยาจะขายยาตัวนี้ จะต้องจัดทำบัญชียา ขย. 11 เพื่อบันทึกประวัติผู้ซื้อ/ผู้รับการรักษา) 

      2. Butamirate Citrate ที่ระงับการไอได้ดี แต่ควรระวังอาการข้างเคียง เช่น อาการง่วงซึม ซึ่งเหมาะกับใช้เป็นยาแก้ไอในเด็กที่ไม่สบาย และต้องการพักผ่อนนอนหลับ

      3. Codeine ที่จัดเป็นยาควบคุมพิเศษมีจำหน่ายเฉพาะสถานพยาบาล

    • ยากด Receptor ที่กระตุ้นการไอ ตามจุดต่างๆ ของร่ายกาย ออกฤทธิ์ระงับการไอโดยไม่ผ่านระบบประสาทส่วนกลาง เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการไอที่ต้นเหตุได้ดี โดยทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ง่วงซึมได้น้อย ได้แก่ ตัวยา Levodropropizine 

     2. ไอมีเสมหะ ยาที่ใช้รักษาจะแบ่งออกเป็น

    • ยาละลายเสมหะ ได้แก่ ตัวยา Ambroxol, Bromhexine, Carbocysteine และ Acetylcysteine เป็นต้น

    • ยาขับเสมหะ ได้แก่ Glyceryl quaiacolate

            โดยยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แต่ละตัวก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป แต่ตัวยาละลายเสมหะที่น่าสนใจ คือ แอมบรอกซอล (Ambroxol) เนื่องจากเป็นตัวยาที่ช่วยละลายเสมหะ ที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ และนอกจากนี้ตัวยาแอมบรอกซอล (Ambroxol) ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะได้ โดยมีระยะเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์เร็ว คือ ภายใน 30 นาที หลังจากรับประทานยา เนื่องจากอยู่ในรูปที่พร้อมออกฤทธิ์ได้ทันที (Active Metabolite) จึงจัดเป็นยาละลายเสมหะที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการไอ

 

ข้อมูลยา Ambroxol

ข้อบ่งใช้

          ตัวยาแอมบรอกซอล (Ambroxol) มีคุณสมบัติละลายเสมหะ ช่วยให้เสมหะเหลวสู่สภาพปกติ ทำให้เสมหะข้นเหนียวที่คั่งค้างในทางเดินหายใจถูกขจัดออกได้ง่ายขึ้น เป็นผลให้การหายใจสะดวกขึ้น อาการไอและเสมหะจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับเสมหะ และมีอาการข้างเคียงน้อย

ขนาดและวิธีใช้

ชนิดเม็ด: 1 เม็ด ประกอบด้วย Ambroxol hydrochloride 30 mg

ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 10 ปี: รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

เด็กอายุ 5-10 ปี: รับประทานครั้งละ ½ เม็ด วันละ 3 ครั้ง

ชนิดน้ำ: 5 มล. ประกอบด้วย Ambroxol hydrochloride 30 mg

ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 10 ปี: รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา (5 มล.) วันละ 3 ครั้ง

เด็กอายุ 5-10 ปี: รับประทานครั้งละ ½ ช้อนชา (2.5 มล.) วันละ 2-3 ครั้ง

ชนิดน้ำสำหรับเด็ก: 5 มล. ประกอบด้วย Ambroxol hydrochloride 15 mg

เด็กอายุมากกว่า 10 ปี: รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา (10 มล.) วันละ 3 ครั้ง

เด็กอายุ 5-10 ปี: รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา (5 มล.) วันละ 2-3 ครั้ง

เด็กอายุ 2-5 ปี: รับประทานครั้งละ ½  ช้อนชา (2.5 มล.) วันละ 2-3 ครั้ง

หรือคำนวณจากขนาดยา Ambroxol 1.2-1.6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน

หากสนใจผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของตัวยา AMBROXOL สามารถซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป

แหล่งอ้างอิง:

  1. Prasad, C. V., Sait, M. A. S., & Ponnambalam, A. (2022). AMBROXOL AND BROMHEXINE INCREASE ANTIBIOTIC LEVELS IN THE LUNGS. European Journal of Molecular and Clinical Medicine, 9(9), 115+. https://link.gale.com/apps/doc/A759558916/AONE?u=anon~9a5b382c&sid=googleScholar&xid=73e714df

  2. Scaglione, F., & Petrini, O. (2019). Mucoactive agents in the therapy of upper respiratory airways infections: fair to describe them just as mucoactive?. Clinical Medicine Insights: Ear, Nose and Throat, 12, 1179550618821930.

  3. Kantar, A., Klimek, L., Cazan, D., Sperl, A., Sent, U., & Mesquita, M. (2020). An overview of efficacy and safety of ambroxol for the treatment of acute and chronic respiratory diseases with a special regard to children. Multidisciplinary respiratory medicine, 15(1), 511. https://doi.org/10.4081/mrm.2020.511

  4. เอกสารกำกับยามูโคลิด (Mucolid)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *